เมนู

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือ สหรคต
ด้วยอรูป เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้
ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ
อธิปัญญาด้วย.

4. บุคคล ผู้ไม่ได้เจโตสมละในภายใน ด้วย ไม่
ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญาด้วย เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือ
สหรคตด้วยอรูป ไม่เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลอย่างนี้
ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ไม่ได้ปัญญาที่เห็นแจ้ง
ในธรรมกล่าวคืออธิปัญญาด้วย.


อรรถกถาบุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน ฯลฯ เป็นต้น


วินิจฉัย ในคำทั้งหลายมีคำว่า "ลาภี โหติ" เป็นต้น. บทว่า "ลาภี"
แปลว่า ผู้มีปกติได้ คือ ได้เฉพาะแล้วดำรงอยู่. สองบทว่า "อชฺฌตฺตํ
เจโตสมถสฺส"
ได้แก่ เจโตสมถะที่บังเกิดขึ้นในจิตของตน กล่าวคือ เป็น
ไปในภายในของตนเอง. บทว่า "อธิปญฺญาธมฺมวิปสฺสนาย" ความว่า
ด้วยวิปัสสนา คือ อธิปัญญา ที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งอนิจจลักษณะ เป็นต้น
ในธรรมขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า "รูปสหคตานํ" ได้แก่ รูปาวจรสมาบัติ
ที่มีรูปนิมิตเป็นอารมณ์. บทว่า "อรูปสหคตานํ" ได้แก่ อรูปสมาบัติซึ่ง
ไม่มีรูปนิมิตเป็นอารมณ์. ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า บุคคลพวกที่ 1 ได้แก่

ปุถุชนผู้มีสมาบัติ 8, บุคคลพวกที่ 2 ได้แก่ พระอริยสาวกผู้สุกขวิปัสสก บุคคล
พวกที่ 3 ได้แก่ พระอริยสาวกผู้ได้สมาบัติ 8, บุคคลพวกที่ 4 ได้แก่ โลกีย-
ปุถุชน.
[138] 1. อนุโสตคามีบุคคล บุคคลผู้ไปตามกระแส เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเสพกาม ย่อมกระทำกรรมอันลามก นี้
เรียกว่าบุคคลผู้ไปตามกระแส.
2. ปฏิโสตคามีบุคคล บุคคลผู้ไปทวนกระแส
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เสพกามและไม่กระทำกรรมอันลามก บุคคล
นั้น ถึงจะมีทุกข์ มีโทมนัส มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ก็ยังประพฤติพรหม-
จรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์อยู่ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไปทวนกระแส.
3. ฐิตัตตบุคคล บุคคลผู้ตั้งตัวได้แล้ว เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดผุดขึ้น เพราะความสิ้นไปแห่ง
โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 5 ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับมาจากโลกนั้น
เป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ตั้งตัวได้แล้ว.
4. บุคคล ผู้ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก เป็นพราหมณ์
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้วซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะรู้
ยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ข้ามถึงฝั่ง
ยืนอยู่บนบก เป็นพราหมณ์.

อรรถกถาบุคคลผู้ไปตามกระแสเป็นต้น


วินิจฉัย ในคำว่า "อนุโสตคามี" คือ ผู้ไปตามกระแส เป็นต้น.
บทว่า "อนุโสตคามี" พึงทราบได้แก่ ปุถุชนผู้ไปตามกระแส คือ วัฏฏะ
ผู้จมลงในกระแสคือ วัฏฏะ. บทว่า "ปฏิโสตคามี" คือ ผู้ไปทวนกระแส.
คำว่า "ปฏิโสตคามี" นี้เป็นชื่อของท่านผู้ไม่ไปตามกระแส แต่ไปทวนกระแส.
ข้อว่า "ปาปญฺจ กมฺมํ น กโรติ" ได้แก่ ผู้ไม่ก้าวล่วงบัญญัติกระทำบาป.
ข้อว่า "สหาปิ ทุกฺเขน สหาปิ โทมนสฺเสน" ความว่า ครั้นเมื่อกิเลส
อันเป็นปริยุฏฐานยังมีอยู่ ย่อมกระทำกรรมอันลามก แม้กับด้วยทุกขโทมนัส
ที่เกิดขึ้น. บทว่า "ปริปุณฺณํ" ได้แก่ บรรดาสิกขาทั้ง 3 ไม่บกพร่องแม้
สักอย่าง. บทว่า "ปริสุทฺธํ" ได้แก่ ไม่มีอุปกิเลส. บทว่า "พฺรหฺมจริยํ"
แปลว่า ประพฤติธรรมอันประเสริฐที่สุด. พระโสดาบัน และพระสกทาคามี
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยวาระนี้.
ถามว่า ก็บุคคลเหล่านี้ ร้องไห้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ?
ตอบว่า ถูกแล้ว ท่านเหล่านี้ ชื่อว่าร้องไห้ประพฤติพรหมจรรย์ โดย
การร้องไห้ ด้วยอำนาจของกิเลส. แม้ภิกษุผู้ปุถุชนสมบูรณ์ด้วยศีล พระผู้มี
พระภาคเจ้าก็ทรงสงเคราะห์เข้าในบทว่า "พฺรหฺมจริยํ" นี้เหมือนกัน. บทว่า
"ฐิตตฺโต" ได้แก่ ผู้มีการดำรงตัวอยู่ได้เป็นสภาพ ก็พระอนาคามี ชื่อว่า ดำรง
ตัวอยู่ได้เป็นสภาพ เพราะท่านเป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหว ด้วยกามราคะ และ
พยาบาท และเป็นผู้ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. บทว่า "ติณฺโณ"
ได้แก่ ผู้ข้ามกระแสแห่งตัณหา. บทว่า "ปารคโต" ได้แก่ ผู้ถึงฝั่งคือ พระ-
นิพพาน. สองบทว่า "ผเล ติฏฺฐติ" ได้แก่ ยืนอยู่บนบก คือ อรหัตผลและ
สมาปัตติผล. บทว่า "เจโตวิมุตฺตึ" ได้แก่ ผลสมาธิ. บทว่า "ปญฺญาวิมุตฺตึ"